ตั้งเงื่อนไข

Last updated: 21 ก.ค. 2564  |  2208 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตั้งเงื่อนไข

กรณีที่เรามีความทุกข์มากๆ เช่น มีความอยากได้โน่นนี่นั่น .. มันกระโจนไปในความทุกข์ แล้วจะดึงตัวเองออกมา แล้วแยกกันอย่างไรคะ

หรือว่าต้องฝึกไปเรื่อยๆ ระหว่างทางที่ยังทำไม่ได้ ก็ทนไปก่อน?

 

 ตรงนี้ .. ใช้กับทุกเรื่องนะ  ดูตรงนี้ ...

ที่เราฝึกจิต ... เพราะ จิตทุกคนผ่องใส ..

แล้วฝึกจิตทำไม?  เพราะ .. ไปเกาะกับความคิด

แล้ว ความคิด ห้ามได้ไหม?  ไม่ได้

-- ให้สังเกตตรงนี้ว่า เราไปตั้งเงื่อนไขอะไรอยู่ --

ถ้าตั้งเงื่อนไขว่า ต้องการสบาย เหมือนเราทำงานนี้ ต้องการสบายๆ เราจะต่อต้านความลำบาก  พอไปฉันอาหารสบายๆ  ปัญจวัคคีย์ยอมไหม ? .. ไม่ยอม   พอทรมานตัวเองให้ลำบาก ก็ต่อต้านความสบาย

 

เพราะฉะนั้น ..   เราตั้งอะไรไว้   

เราตั้งเอาไว้ว่า ต้องการเงียบๆ  พอใครเสียงดัง .. "ทำไมเสียงดังล่ะ?"

หรือเราสวดมนต์เงียบๆ ใครเสียงดังก็รำคาญ .. รำคาญเพราะเราต้องการเงียบๆ  จับหลักตรงนี้ไว้  เราตั้งเงื่อนไขว่า เงียบๆ เราเลยรำคาญเสียง

แต่ .. ถ้าไม่ตั้งเงื่อนไขว่า ต้องการเงียบ เราจะรำคาญไหม? เราจะไม่รำคาญเสียง เพราะเราไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ต้องการเงียบๆ

อ้าว .. แล้วอย่างนี้ แล้วตกลงไม่ได้ตั้งเงื่อนไขแล้ว เขาเสียงดัง ไม่ต้องไปบอกเขาเหรอ?

ถ้าตั้งเงื่อนไขว่าต้องการเงียบๆ พอเขาเสียงดัง จะรำคาญ แล้วไปพูดด้วยความรำคาญ  แต่ถ้าไม่ได้ตั้งเงื่อนไข ปลดเงื่อนไขไป .. เสียง ก็ดังอยู่  พอเสียงดัง เราก็บอกได้ เรียกว่า แนะนำ .. แนะนำแต่ไม่ได้แนะนำด้วยความรำคาญ

 

บอกไปก็ไม่เชื่อ..

ไม่เชื่อ พรุ่งนี้ก็แนะนำอีก .. ไม่เชื่อ .. ไม่เชือกก็แนะนำอีก

ทำไมเมตตาจังเลย?

เปล่า .. ไม่ได้คิดจะมีเมตตา แต่ไม่ได้มีเงื่อนไข

ทำไมพูดดีจังเลย ?

ไม่ได้พยายามจะพูดดี แต่เพราะไม่มีเงื่อนไข

ทำไมทำดีจังเลย ?

ไม่ได้พยายามจะทำดี แต่ .. ไม่ได้มีเงื่อนไข

 

เพราะฉะนั้น พอเรา ปลดเงื่อนไข ตัวคิดดี พูดดี ทำดี มันจะมาของมันเอง  เพราะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง  ตัวทางสายกลาง ปลดเงื่อนไขทั้งหมด ที่เรียกว่าเครื่องผูกจิต  สังโยชน์ คือเครื่องผูกจิต  มันปลดออกไป และตัวเมตตาออกมาเอง

 

 พอเรารู้อย่างนี้แล้ว  เวลาอยู่ข้างนอก เราอยู่ที่จิต พอมีความคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่ต้องหลบ เพราะเวลาโกรธ น้อยใจ เสียใจ .. ทุกข์ ให้กำหนดรู้ไว้

แต่สังเกต .. ทำไมเราดับไม่ได้

พระพุทธเจ้าบอก " ทุกข์ให้กำหนดรู้ เวลาละ .. ละเหตุให้เกิดทุกข์"

เราไปปล่อยตัวผิด เวลาเราโกรธ ..ช่างมันๆ .. เราไปปล่อยตัวนี้

 

พระพุทธเจ้าบอก " ทุกข์ให้กำหนดรู้ ละที่ต้นเหตุ" เพราะฉะนั้น .. ไปตั้งเงื่อนไขอะไรอยู่

--- ทำไมพูดทีเดียวไม่เข้าใจ ทำไมต้องให้พูดหลายที  พูดอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร  -- ความคิดถูกผิดอยู่ในหัวซ้ำๆ ให้สังเกตว่า คื่อเงื่อนไขที่ตั้งไว้อยู่ .. -- ทำไมแม่ต้องพูดอย่างนี้เรื่อยเลย  ทำไมลูกไม่เชื่อ -- นี่ไง มันกำลังตั้งเงื่อนไข

 

เพราะฉะนั้น พอเห็นเงื่อนไข ..อ๋อ.. นี่กำลังไปตั้งเงื่อนไขตรงนี้  พอตั้งเงื่อนไขตรงนี้ ..  ข้างในก็ดิ้นรน ความดิ้นรนเป็นเหตุให้เกิดทุกข์  ..มันดิ้น เพื่อจะให้เป็นอย่างเงื่อนไขที่ตั้งไว้

 

พอข้างในดิ้นเสร็จ ความคิดก็เลยคิดไม่เลอก คิดจะให้ได้ดั่งเงื่อนไขที่ตั้งไว้  .. ทำไมคิดไม่เลิกล่ะ  ก็ข้างในมันกำลังตั้งเงื่อนไขอะไรอยู่ --

 

เราเห็นอย่างนี้ อ๋อ.. เราปลดเงื่อนไขปุ๊บ เราไม่หลบมัน  มันคิดซ้ำๆ ก็ตั้งเงื่อนไขอย่างนี้เอง  เราก็กลับมารู้สึกเบาๆ เราเห็นแล้วว่า มันเป็นเงื่อนไข เราก็ปล่อยเงื่อนไข

 

ขยะมีเยอะ คนเก็บขวดบอก ไม่มีขยะหรอก มีแต่เงินทั้งนั้น เพราะอะไร เขาแยกขยะได้ ก็มีแต่เงิน ในการที่ปล่อยเงื่อนไขตรงนี้ได้ นี่เรียกว่า ได้อริยทรัพย์

 

เช่นเดียวกัน โลภ โกรธ หลง .. ไม่สบาย ทุกข์ แต่ถ้าแยกได้ มีเงื่อนๆ พอแยกได้ ก็ได้ทรัพย์ภายใน นี่แหละอริยทรัพย์ ก็จะพ้นจากทุกข์ภายในได้  พอกลับมารู้สึกข้างในเบาๆนี้ .. วุ้บๆ.. นี่เรียกว่า ปลดเงื่อนไขทั้งหมด  พอปลดเงื่อนไข ก็เป็นอิสระจากทุข์ทั้งปวง

 

รู้ได้อย่างไรล่ะ .. ก็ปกติฟังเรื่องนี้ต้องหวุดหงิด ทำไมไม่หงุดหงิด เพราะไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร

 

แต่ไม่มีเงื่อนไข  ไม่ได้ไม่มีปัญญานะ  แต่มีปัญญา เห็นตามความเป็นจริง  ฟังเรื่องอะไรทั้งหมด ไม่ได้เอาความเห็นตัวเองเข้าไปใส่  รับรู้เรื่องราว คนโน้นคนนี้พูดอย่างไรๆ  ไม่ได้เอาถูกผิด  แต่เลื่อกสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ .. เจริญพร

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้